“พิธีกงเต๊ก” เป็นพิธีงานศพของชาวจีนที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้ายและเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สวรรค์ ซึ่งพิธีนี้ถือได้ว่าเป็นพิธีที่สืบทอดและปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นการเอาคำ 2 คำ มารวมกันคือ กง แปลว่า ทำ, บำเพ็ญ ส่วน เต๊ก แปลว่า บุญ, กุศล
พิธีกงเต๊กนั้นมีรากฐานมาจากความเชื่อ 3 อย่างด้วยกัน คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า และลัทธิขงจื๊อ โดยการจัดพิธีกงเต๊กไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยมากนัก เพราะผู้ที่จะรับพิธีกงเต๊กได้จะต้องมีชีวิตตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป และจะต้องเสียชีวิตตามธรรมชาติ หรือเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ และจะต้องแต่งงานมีลูกหลานมาก แต่ถ้าเสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี เรียกว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเสียชีวิตแบบไม่ปกติกซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม หรือฆ่าตัวตาย ก็จะไม่มีการจัดพิธีกงเต๊ก นั่นเอง
ทางสุริยาหีบศพ นครปฐม มีการให้บริการจัดงานศพแบบจีนและดำเนินการด้านพิธีกงเต๊กแบบครบพิธีถูกต้องตามหลักศาสนา มีประสบการณ์การให้บริการด้านการประกอบพิธีมามากกว่า 60 ปี พร้อมทั้งให้คำปรึกษา ดูฤกษ์ที่เหมาะสมสำหรับการประกอบพิธีและหลีกเลี่ยงเวลาชงจนถึงพิธีฝังที่สุสานจนเสร็จสิ้นพิธี
ขั้นตอนการประกอบพิธีกงเต๊ก
ขั้นตอนที่ 1 – เลือกประเภทภาษาและรูปแบบโลงของพิธี
ขั้นตอนแรกจะเป็นการเลือกประเภทภาษาและรูปแบบโลงของพิธีว่าเป็นจีนแบบใดเช่น ภาษา จีน ไหหลำ แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน
โดยส่วนใหญ่ในเมืองไทย จะเป็นแต้จิ๋ว ซึ่งผู้ชายจะใช้เป็นหีบจำปาสีเลือดหมู ผู้หญิงใช้เป็นหีบจำปาสีดำ
จีนกวางตุ้ง ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้เป็นหีบจำปาสีดำเหมือนกัน
จีนฮกเกี้ยน และจีนแคะ ใช้เป็นหีบจำปาสีแชล็ค
ถ้าอายุเกิน 100 ปี ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้หีบจำปาสีแดง
หีบจำปาจะมีอีกแบบ คือ หีบจำปาแบบขุดใช้ไม้ซุงท่อนเดียว ใช้กับทุกภาษา ตัวหีบจำปาเป็นลายไม้ไม่ต้องทำสี
ส่วนการพ่นลายหีบจำปาจะคล้ายกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง จะต่างกันที่ผู้ชายเป็นลายมังกร ส่วนผู้หญิงเป็นลายหงส์
ขั้นตอนที่ 2 – ติดต่อสุสาน
เรื่องติดต่อสุสาน ส่วนใหญ่ทางญาติจะเป็นคนติดต่อด้วยตนเอง เนื่องจากผู้เสียชีวิตก่อนที่จะเสียชีวิตจะไปดูหลุมศพของตนเองไว้แล้ว ให้ทางญาติแจ้งทางสุสานว่าจะไปฝังวันไหน (ในกรณีที่ท่านยังไม่ได้เตรียมสุสานไว้)
ขั้นตอนที่ 3 – ติดต่อวัดเพื่อหาสถานที่ทำพิธี
ทางญาติจะต้องทำการติดต่อวัดเพื่อหาสถานที่ทำพิธี (ที่สามารถเผาเครื่องกระดาษได้)
ในกรณีที่ทางวัดไม่ให้เผาเครื่องกระดาษ ทางเราสามารถแนะนำให้นำเครื่องกระดาษไปเผาที่วัดที่สามารถเผาได้ แต่จะมีค่าบริการขนย้าย
ขั้นตอนที่ 4 – ทำพิธีบรรจุโลงตามประเพณี
ทำการบรรจุโลง โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามายกร่างของผู้เสียชีวิตลงไปในโลงศพ
และให้ลูกหลานจัดวางกระดาษเงิน กระดาษทองลงในโลง พร้อมเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 5 – ตั้งสวดอภิธรรม
ตั้งสวดอภิธรรม 3,5,7 วัน (ตั้งเหล่งโจ๊ย)
หากทำพิธีกงเต๊ก จะทำพิธีสวด 5 คืน คืนที่ 6 เป็นพิธีกงเต๊ก และวันที่ 7 คือ วันที่ไปฝังที่สุสาน
ขั้นตอนที่ 6 – ทำพิธีกงเต๊ก (เผาเครื่องกระดาษ)
ทำในคืนที่ 6 หลังจากสวดอภิธรรม 5 คืน
ขั้นตอนที่ 7 – ทำพิธีเคารพศพก่อนเคลื่อนย้าย
ช่วงเช้าก่อนไปสุสานจะมีพิธีไหว้ตอนเช้า โดยจัดเป็นของไหว้ 2 ชุด คือ ไหว้หน้าศพและไหว้บรรพบุรุษ และจะมีการไหว้ภายใน
หลังจากนั้นจะเป็นพิธีเคารพศพ เมื่อเสร็จพิธีจะดำเนินการเคลื่อนย้ายศพไปที่สุสาน
ขั้นตอนที่ 8 – เคลื่อนย้ายศพไปสุสาน
พอถึงสุสาน จะตั้งศพที่ศาลาพักอีกครั้ง ทำการไหว้ฟ้าดินเจ้าที่เจ้าทางที่สุสาน และทำพิธีเคารพศพที่ศาลาพักอีกครั้ง ก่อนเคลื่อนย้ายไปที่หน้าหลุมฝังศพ
ขั้นตอนที่ 9 – ทำพิธีฝัง
พิธีฝังศพที่หน้าหลุมศพจะมีของเซ่นไหว้อีกชุด ก่อนจะทำพิธีฝัง
ขั้นตอนที่ 10 – ห่วยเล้ง
หลังจากทำพิธีฝังเสร็จ ดำเนินการเชิญกระถางธูปกลับมาที่บ้านของผู้เสียชีวิต (ห่วยเล้ง) ขั้นตอนนี้หากท่านจะถือซุ้ง คือ ไว้ทุกข์ 49 วัน
หากไว้ทุกข์จะต้องตั้งรูปและกระถางธูปไว้ที่โต๊ะด้านล่างก่อน เมื่อครบ 49 วัน ถึงจะนำรูปและกระถางธูปขึ้นมาไว้บนหิ้งได้
(หากไม่ไว้ทุกข์ เมื่อกลับมาบ้านสามารถนำรูปและกระถางธูปขึ้นหิ้งได้)
ขั้นตอนที่ 11 – การไว้ทุกข์
ทำพิธีไหว้ซุ้งเมื่อครบ 49 วัน
การไว้ทุกข์ คือ การไหว้ 7 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครบ 7 ครั้ง คือ 49 วัน จึงสามารถออกทุกข์ได้ ซึ่งการไหว้ครั้งที่ 7 คือ การไหว้ใหญ่ที่สุด จัดโต๊ะตั้งของไหว้ชุด