Skip to content Skip to footer

จัดงานศพจีน พิธีกงเต๊ก

“พิธีกงเต๊ก” เป็นพิธีงานศพของชาวจีนที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้ายและเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สวรรค์ ซึ่งพิธีนี้ถือได้ว่าเป็นพิธีที่สืบทอดและปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ  โดยเป็นการเอาคำ 2 คำ มารวมกันคือ กง แปลว่า ทำ, บำเพ็ญ ส่วน เต๊ก แปลว่า บุญ, กุศล

พิธีกงเต๊กนั้นมีรากฐานมาจากความเชื่อ 3 อย่างด้วยกัน คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า และลัทธิขงจื๊อ โดยการจัดพิธีกงเต๊กไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยมากนัก เพราะผู้ที่จะรับพิธีกงเต๊กได้จะต้องมีชีวิตตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป และจะต้องเสียชีวิตตามธรรมชาติ หรือเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ และจะต้องแต่งงานมีลูกหลานมาก แต่ถ้าเสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี เรียกว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเสียชีวิตแบบไม่ปกติกซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม หรือฆ่าตัวตาย ก็จะไม่มีการจัดพิธีกงเต๊ก นั่นเอง

ทางสุริยาหีบศพ นครปฐม มีการให้บริการจัดงานศพแบบจีนและดำเนินการด้านพิธีกงเต๊กแบบครบพิธีถูกต้องตามหลักศาสนา มีประสบการณ์การให้บริการด้านการประกอบพิธีมามากกว่า 60 ปี พร้อมทั้งให้คำปรึกษา ดูฤกษ์ที่เหมาะสมสำหรับการประกอบพิธีและหลีกเลี่ยงเวลาชงจนถึงพิธีฝังที่สุสานจนเสร็จสิ้นพิธี

“กงเต๊ก เป็นพิธีกรรมที่ละเอียดอ่อน ซ่อนความหมายทุกขั้นตอน อีกทั้งรายละเอียดก็แตกต่างกันไปตามประเพณีของแต่ละมณฑล”

ขั้นตอนการประกอบพิธีกงเต๊ก

ขั้นตอนที่ 1 – เลือกประเภทภาษาและรูปแบบโลงของพิธี

ขั้นตอนแรกจะเป็นการเลือกประเภทภาษาและรูปแบบโลงของพิธีว่าเป็นจีนแบบใดเช่น ภาษา จีน ไหหลำ แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน

  1. โดยส่วนใหญ่ในเมืองไทย จะเป็นแต้จิ๋ว ซึ่งผู้ชายจะใช้เป็นหีบจำปาสีเลือดหมู ผู้หญิงใช้เป็นหีบจำปาสีดำ
  2. จีนกวางตุ้ง ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้เป็นหีบจำปาสีดำเหมือนกัน
  3. จีนฮกเกี้ยน และจีนแคะ ใช้เป็นหีบจำปาสีแชล็ค
  4. ถ้าอายุเกิน 100 ปี ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้หีบจำปาสีแดง
  5. หีบจำปาจะมีอีกแบบ คือ หีบจำปาแบบขุดใช้ไม้ซุงท่อนเดียว ใช้กับทุกภาษา ตัวหีบจำปาเป็นลายไม้ไม่ต้องทำสี
  6. ส่วนการพ่นลายหีบจำปาจะคล้ายกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง จะต่างกันที่ผู้ชายเป็นลายมังกร ส่วนผู้หญิงเป็นลายหงส์

ขั้นตอนที่ 2 – ติดต่อสุสาน

เรื่องติดต่อสุสาน ส่วนใหญ่ทางญาติจะเป็นคนติดต่อด้วยตนเอง เนื่องจากผู้เสียชีวิตก่อนที่จะเสียชีวิตจะไปดูหลุมศพของตนเองไว้แล้ว ให้ทางญาติแจ้งทางสุสานว่าจะไปฝังวันไหน (ในกรณีที่ท่านยังไม่ได้เตรียมสุสานไว้)

ขั้นตอนที่ 3 – ติดต่อวัดเพื่อหาสถานที่ทำพิธี

ทางญาติจะต้องทำการติดต่อวัดเพื่อหาสถานที่ทำพิธี (ที่สามารถเผาเครื่องกระดาษได้)
ในกรณีที่ทางวัดไม่ให้เผาเครื่องกระดาษ ทางเราสามารถแนะนำให้นำเครื่องกระดาษไปเผาที่วัดที่สามารถเผาได้ แต่จะมีค่าบริการขนย้าย

ขั้นตอนที่ 4 – ทำพิธีบรรจุโลงตามประเพณี


ทำการบรรจุโลง โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามายกร่างของผู้เสียชีวิตลงไปในโลงศพ
และให้ลูกหลานจัดวางกระดาษเงิน กระดาษทองลงในโลง พร้อมเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ขั้นตอนที่ 5 – ตั้งสวดอภิธรรม

ตั้งสวดอภิธรรม 3,5,7 วัน (ตั้งเหล่งโจ๊ย)
หากทำพิธีกงเต๊ก จะทำพิธีสวด 5 คืน คืนที่ 6 เป็นพิธีกงเต๊ก และวันที่ 7 คือ วันที่ไปฝังที่สุสาน

ขั้นตอนที่ 6 – ทำพิธีกงเต๊ก (เผาเครื่องกระดาษ)

ทำในคืนที่ 6 หลังจากสวดอภิธรรม 5 คืน

ขั้นตอนที่ 7 – ทำพิธีเคารพศพก่อนเคลื่อนย้าย

ช่วงเช้าก่อนไปสุสานจะมีพิธีไหว้ตอนเช้า โดยจัดเป็นของไหว้ 2 ชุด คือ ไหว้หน้าศพและไหว้บรรพบุรุษ และจะมีการไหว้ภายใน
หลังจากนั้นจะเป็นพิธีเคารพศพ เมื่อเสร็จพิธีจะดำเนินการเคลื่อนย้ายศพไปที่สุสาน

ขั้นตอนที่ 8 – เคลื่อนย้ายศพไปสุสาน

พอถึงสุสาน จะตั้งศพที่ศาลาพักอีกครั้ง ทำการไหว้ฟ้าดินเจ้าที่เจ้าทางที่สุสาน และทำพิธีเคารพศพที่ศาลาพักอีกครั้ง ก่อนเคลื่อนย้ายไปที่หน้าหลุมฝังศพ

ขั้นตอนที่ 9 – ทำพิธีฝัง

พิธีฝังศพที่หน้าหลุมศพจะมีของเซ่นไหว้อีกชุด ก่อนจะทำพิธีฝัง

ขั้นตอนที่ 10 – ห่วยเล้ง

หลังจากทำพิธีฝังเสร็จ ดำเนินการเชิญกระถางธูปกลับมาที่บ้านของผู้เสียชีวิต (ห่วยเล้ง) ขั้นตอนนี้หากท่านจะถือซุ้ง คือ ไว้ทุกข์ 49 วัน
หากไว้ทุกข์จะต้องตั้งรูปและกระถางธูปไว้ที่โต๊ะด้านล่างก่อน เมื่อครบ 49 วัน ถึงจะนำรูปและกระถางธูปขึ้นมาไว้บนหิ้งได้
(หากไม่ไว้ทุกข์ เมื่อกลับมาบ้านสามารถนำรูปและกระถางธูปขึ้นหิ้งได้)

ขั้นตอนที่ 11 – การไว้ทุกข์

ทำพิธีไหว้ซุ้งเมื่อครบ 49 วัน
การไว้ทุกข์ คือ การไหว้ 7 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครบ 7 ครั้ง คือ 49 วัน จึงสามารถออกทุกข์ได้ ซึ่งการไหว้ครั้งที่ 7 คือ การไหว้ใหญ่ที่สุด จัดโต๊ะตั้งของไหว้ชุด